Welcome

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกหัด

ความหมายของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร
                สรุปทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถทางการคิดและความสามารถในการแสวงหาความรูที่ไดรับการฝึกฝนจนชํานาญกลายมาเปนทักษะทางปญญา กอใหเกิดเปนพฤติกรรมการเรียนรูที่อยูในตัวของแตละบุคคล

โดยมีลักษณะสําคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3 ประการ ดังนี้
1.   กระบวนการทางวิทยาศาสตรเปนทักษะทางสติปญญา โดยแตละกระบวนการ เปนทักษะทางสติปญญาเฉพาะ นักวิทยาศาสตร์ ใชเพื่อทําใหเกิดความเขาใจในปรากฏการณธรรมชาติต่างๆ
 2. แตละทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรวินิจฉัยหรือจำแนกไดจากพฤติกรรม ของนักวิทยาศาสตร ซึ่งสามารถสอนใหนักเรียนเกิดการเรียนรูและมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 3. แตละทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรสามารถถายโอนจากวิทยาศาสตรไปยังสาขาวิชาอื่นได้  และสามารถนําไปใช้เป็นหลักในการคิดอยางมีเหตุผลและใช้ในการแก้ปญหาในชีวตประจำวันไดดวย

ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรขั้นพื้นฐาน (Basic Science Process Skills) มี 8 ทักษะ ดังนี้
 1. ทักษะการสังเกต (Observation) หมายถึง ความสามารถในการใชประสาท สัมผัสอยางใดอยางหนึ่งหรือหลายอยางรวมกันเขาไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
 2. ทักษะการวัด (Measurement) หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งตางๆ ไดอยางถูกตองโดยมีหนวยกํากับและรวมไปถึงการใช้เครื่องมืออยางถูกตอง
 3. ทักษะการคํานวณ (Using numbers) หมายถึง ความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร ตัวเลขที่แสดงคาปริมาณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งไดจากการสังเกต การวัดหรือการทดลอง
 4. ทักษะการจําแนกประเภท (Classification) หมายถึง ความสามารถในการจัดจําแนกหรือเรียงลําดับวัตถุหรือสิ่งที่อยูในปรากฏตางๆ ออกเปนหมวดหมูโดยมีเกณฑที่ใช้ใน การพิจารณา 3 ประการ คือ ความเหมือน ความแตกตาง และความสัมพันธ
 5. ทักษะความสัมพันธระหวางมิติของวัตถุกับเวลา (Space / Space Relation -ship and space / time relationship) หมายถึง ความสามารถในระบุความสัมพันธระหวางสิ่งตอไปนี้ ความสัมพันธระหวาง 2 มิติกับ 3 มิติ สิ่งที่อยูหนากระจกเงากับภาพในกระจกเปนซายขวาของกันและกันอยางไร ตําแหนงที่อยูของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงตําแหนงที่อยูของวัตถุกับเวลาหรือมิติของวัตถุเปลี่ยนแปลงไปกับเวลา
 6. ทักษะการจัดกระทําและสื่อความหมายขอมูล (Organization data andcommunication) หมายถึงความสามารถในการนําขอมูลที่ไดจากการสังเกต การวัด การทดลองและจากแหลงอื่นๆ มาจัดใหม โดยวิธีการตางๆ เชน การจัดเรียงลําดับ การจัดแยกประเภทเพื่อใหผูอื่นเขาใจความหมายของขอมูลชุดนั้นๆ ดีขึ้น โดยการนําเสนอในรูปตาราง แผนภูมิ
แผนภาพ กราฟ
 7. ทักษะการลงความเห็นจากขอมูล (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการนําเสนอ อธิบายขอมูลที่มีอยูซึ่งไดมาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรูเดิมหรือประสบการณ์เดิม เพื่อสรุปความเห็นเกี่ยวกับขอมูลนั้นๆ
 8. ทักษะการพยากรณ (Prediction) หมายถึง ความสามารถทํานายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นลวงหนา


วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

30 กันยายน 2556
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED 3027 เวลา 14.10-17.30.

วันนี้อาจารย์ให้เคลียร์งานที่ค้างให้เรียบร้อย และให้ส่งงานสื่อเข้ามุม
สื่อ อ่างตกปลาหรรษา

อุปกรณ์
 กล่องกระดาษ
 กรรไกร
 กาว
 กาว 2 หน้า
 กระดาษสี
 กระดาษร้อยปอนด์
 แม่เหล็ก
 ตะเกียบ , โฟม , เชือก , ฝาน้ำ
 สี
 ดินสอ/ยางลบ/กระดาษ

 ขั้นตอนการทำ
1.                   ตัดกล่องกระดาษเฉียงลงมาพอประมาณ
2.                 นำกระดาษสีมาแปะตามที่วางแผนกันไว้
3.                 วาดรูปใส่กระดาษร้อยปอนด์ พร้อมตกแต่งระบายสี
4.                 ตัดรูปที่ระบายสีแล้วตามแบบและติดแม่เหล็กตรงมุมด้านบนทุกตัว   พร้อมตกแต่งภายในกล่อง
5.                 มาเชือกมาผูกกับไม้ตะเกียบและนำเชือกร้อยฝาขวดและติดแม่เหล็กทำเป็นเบ็ดตกปลาพร้อมตกแต่งให้สวยงาม

  ความรู้เพิ่มเติม

แม่เหล็ก (magnet) หมายถึง วัตถุที่สามารถดึงดูดกับสารแม่เหล็กได้ เช่น เหล็ก นิกเกิล โคบอลต์
เส้นแรงแม่เหล็ก (line of magnetic force) เป็นเส้นที่นักวิทยาศาสตร์กำหนดขึ้น โดยใช้ลูกศรแสดงทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็กที่พุ่งออกจากขั้วเหนือเข้าสู่ขั้วใต้ โดยเส้นแรงแม่เหล็กไม่ตัดกัน
สนามแม่เหล็ก (magnetic field) หมายถึง บริเวณที่แม่เหล็กสามารถส่งแรงดึงดูดไปถึง
สมบัติของแม่เหล็ก 
แม่เหล็กมีสมบัติ ดังนี้
            1. แม่เหล็กสามารถดึงดูดโลหะบางชนิดได้
            2. แม่เหล็กมี 2 ขั้ว คือ ขั้วเหนือ และขั้วใต้
            3. เมื่อแขวนแท่งแม่เหล็กทิ้งลงในแนวดิ่งแล้วหมุนอย่างอิสระในแนวราบ หลังจากหยุดนิ่ง แท่งแม่เหล็กจะวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้
            4. ขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะออกแรงผลักกัน แต่ถ้าขั้ว ต่างชนิดกันจะดึงดูดซึ่งกันและกัน

ประโยชน์ของแม่เหล็ก 
            1. ใช้ประโยชน์ในการแยกเหล็กออกจากวัตถุอื่นๆ
            2. ใช้งมวัสดุที่เป็นเหล็กในน้ำ
            3. ใช้ทำเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า
            จะเห็นว่าภายในโลกประกอบด้วยสิ่งต่างๆ มากมาย ทั้งที่สัมผัสได้โดยตรง เช่น ดิน หิน แร่ และไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรง เช่น สนามแม่เหล็ก สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างมาก โดยเฉพาะเปลือกโลกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา


สื่อ เข้ามุม อ่างตกปลาหรรษา




เพื่อนๆช่วยกันทำงาน




23 กันยายน 2556
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED 3027 เวลา 14.10-17.30.


จากคาบที่แล้วนักศึกษาได้ลงความคิดเห็นกันว่า จะทำเมนูข้าวผัด และให้เพื่อนๆนำกระทะมากลุ่มละ1 เตา ส่วนเครื่องปรุงเดี่ยวกลุ่มดิฉันนำมาให้


วันนี้ขอนำเสนอ ข้าวผัด



แผนการสอน การทำข้าวผัด


สมาชิกในกลุ่ม



วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

16 กันยายน 2556
วิชาการจัดการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED 3207 เวลา 14.10-17.30 .

วันนี้อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิน  สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ การทำอาหารดังนี

 1.อาจารย์ให้จักลุ่มคิดเมนูอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยกลุ่มละ 1 เมนู
 2.เขียนแม็ปการทำข้าวผัด           
 3 .เริ่มเขียนขั้นตอนการทำข้าวผัด

 4.เขียนแผนการสอนทำข้าวผัด
อาจารย์แนะนำการเขียนแผนการทำข้าวผัด





เพื่อนๆแต่ละกลุ่มมีเมนูอาหารดังนี้

1.กลุ่มแนน ทำต้มจืด
2.กลุ่มจ๋า   ทำแซนวิชไข่ดาว
3.กลุ่มหยก  ทำวุ้นมะพร้าว
4.กลุ่มอีฟ  ทำไข่ตุ่น
    
      เมื่อเพื่อนๆแต่ละกลุ่มคิดเมนูเสร็จอาจารย์ก็ให้ร่วมกันโหวตว่าจะจัดทำอาหารเมนูไหนดีผลปรากฎว่ากลุ่มของดิฉันได้รับผลโหวตเป็นอันดับแรก   อาจารย์จึงสรุปให้ทำข้าวผัด


9 กันยายน 2556
วิชาการจัดการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED 3207 เวลา 14.10-17.30 .

ไม่มีการเรียนการสอนอาจารย์ติดงานราชการ

ดิฉันได้หาการทดลองที่น่าสนใจสำหรับเด็กปฐมวัยมานำเสนอ เรื่อง ไข่ลอย ไข่จม
วัสดุอุปกรณ์

1. เกลือ
2. ไข่ไก่สด
3. บีกเกอร์ขนาด 500 cm3
4. น้ำประปา
5. ช้อนตักสาร
6. แท่งแก้วคนสาร

วิธีทดลอง

1.เทน้ำประปาใส่ลงในบีกเกอร์ประมาณครึ่งบีกเกอร์ นำไข่ไก่สดใส่ลงไปในน้ำ (วางเบาๆ) และสังเกตผลจากนั้นนำไข่ไก่ออก
2.ใส่เกลือลงไปในบีกเกอร์เดิมประมาณ 5 ช้อน ใช้แท่งแก้วคนจนเกลือละลายหมด นำไข่ไก่ใบเดิมใส่ลงไป และสังเกตผล

ผลการทดลอง

จะพบว่า เมื่อนำไข่ไก่สดใส่ลงในน้ำประปาธรรมดา น้ำหนักของไข่ไก่จะดึงไข่ไก่ให้จมลงสู่ก้นบีกเกอร์ เนื่องจากความหนาแน่นของไข่ไก่มากกว่าความหนาแน่นของน้ำ น้ำจึงไม่สามารถพยุงไข่ไก่ให้ลอยขึ้นได้ แต่เมื่อใส่เกลือลงในน้ำประปาจำนวน 5 ช้อน ไข่ไก่สดใบเดิมจะลอยสูงจากก้นบีกเกอร์ ประมาณ 8 cm จากระดับน้ำสูง 10 cm เนื่องจากน้ำเกลือมีความเข้มข้นมากกว่า หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำประปาธรรมดา ไข่ไก่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำเกลือจึงสามารถลอยขึ้นได้
หากนำผลการทดลองและความรู้จากการทดลองนี้ มาใช้ในชีวิตประจำวัน เราอาจกล่าวได้ว่า การหัดว่ายน้ำในทะเล น่าจะสามารถพยุงตัวได้ดีกว่าว่ายน้ำในแม่น้ำ เนื่องจากน้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำในแม่น้ำ



2 กันยายน 2556
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED 3207 เวลา 14.10-17.30 .

อาจารย์ติดประชุม แต่ดิฉันได้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หมายถึงคุณลักษณะ ที่มีความจำเป็นต้องมีในตัวของผู้ที่จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา หรือปฏิบัติงานต่าง ๆ

ทักษะการสังเกต
                ทักษะการสังเกต คือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินอย่างไร ได้กลิ่นอย่างไร หรือรสชาติเป็นอย่างไร ก็ตอบไปตามนั้น ประสาทสัมผัสมี 5 ชนิด คือ
1. ประสาทตา สังเกตได้โดยการดู เพื่อบอกรูปร่าง สัณฐาน ขนาด สี สถานะ
2. ประสาทหู สังเกตโดยการฟัง เพื่อบอกเสียงที่ได้ยินว่า เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ หรือเสียงดังอย่างไรตามที่ได้ยิน
3. ประสาทจมูก สังเกตโดยการดมกลิ่น เพื่อบอกว่ามีกลิ่นหรือไม่ หอม เหม็น ฉุน
4. ประสาทลิ้น สังเกตโดยการชิมรส เพื่อบอกว่ามีรสชาติว่า หวาน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยว ฝาด แต่ในการสังเกตโดยการชิมนี้ ต้องแน่ใจว่าสิ่งนั้นไม่มีอันตรายและสะอาดเพียงพอ
5. ประสาทผิวกาย สังเกตได้โดยการสัมผัส เพื่อบอก อุณหภูมิ ความหยาบ ความละเอียด ความเรียบ ความลื่น ความเปียกชื้น ความแห้งของสิ่งนั้นนอกจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ชนิดสังเกตโดยตรงแล้ว การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ได้ก็จัดว่าเป็นทักษะการสังเกตเช่นเดียวกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสี การเปลี่ยนแปลงรูปร่างสัณฐาน การเปลี่ยนแปลงขนาด การเปลี่ยนแปลงกลิ่น รส อุณหภูมิ ฯลฯ

ทักษะการวัด
                การวัดหมายถึงความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยมีหน่วยที่ใช้วัดกำกับ ตลอดจนสามารถอ่านค่าที่วัดได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง ในการวัดจะต้องพิจารณาว่า
1. จะวัดอะไร เช่น วัดความยาวเส้นรอบรูปของลูกบอล ชั่งน้ำหนักก้อนหิน วัดอุณหภูมิของน้ำ วัดระยะเวลาที่ใช้ในการต้มน้ำ วัดปริมาตรของของเหลวในขวด วัดขนาดของมุม วัดความชื้นของอากาศ วัดแรงกดดันของอากาศ วัดแรงดันของไฟฟ้า ฯลฯ
2. จะใช้เครื่องมืออะไรวัด เช่น ใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูปของลูกบอล ใช้ตาชั่งสปริงชั่งน้ำหนักของก้อนหิน
3. เหตุใดจึงใช้เครื่องมือนั้น เช่นทำไมจึงเลือกใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูปลูกบอล จะใช้เครื่องมืออื่นได้หรือไม
4. จะวัดอย่างไร เช่น เมื่อมีเชือกและไม้บรรทัดแล้วจะทำการวัดอย่างไร มีเทคนิคอย่างไร


26 สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.

อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมงานมุทิตา ผศ.กรรณิการ์ สุสม ที่คณะศึกกษาศาสตร์