Welcome

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปวิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกหัด

ความหมายของทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร
                สรุปทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง ความสามารถทางการคิดและความสามารถในการแสวงหาความรูที่ไดรับการฝึกฝนจนชํานาญกลายมาเปนทักษะทางปญญา กอใหเกิดเปนพฤติกรรมการเรียนรูที่อยูในตัวของแตละบุคคล

โดยมีลักษณะสําคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 3 ประการ ดังนี้
1.   กระบวนการทางวิทยาศาสตรเปนทักษะทางสติปญญา โดยแตละกระบวนการ เปนทักษะทางสติปญญาเฉพาะ นักวิทยาศาสตร์ ใชเพื่อทําใหเกิดความเขาใจในปรากฏการณธรรมชาติต่างๆ
 2. แตละทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรวินิจฉัยหรือจำแนกไดจากพฤติกรรม ของนักวิทยาศาสตร ซึ่งสามารถสอนใหนักเรียนเกิดการเรียนรูและมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 3. แตละทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรสามารถถายโอนจากวิทยาศาสตรไปยังสาขาวิชาอื่นได้  และสามารถนําไปใช้เป็นหลักในการคิดอยางมีเหตุผลและใช้ในการแก้ปญหาในชีวตประจำวันไดดวย

ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรขั้นพื้นฐาน (Basic Science Process Skills) มี 8 ทักษะ ดังนี้
 1. ทักษะการสังเกต (Observation) หมายถึง ความสามารถในการใชประสาท สัมผัสอยางใดอยางหนึ่งหรือหลายอยางรวมกันเขาไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
 2. ทักษะการวัด (Measurement) หมายถึง ความสามารถในการใช้เครื่องมือวัดหาปริมาณของสิ่งตางๆ ไดอยางถูกตองโดยมีหนวยกํากับและรวมไปถึงการใช้เครื่องมืออยางถูกตอง
 3. ทักษะการคํานวณ (Using numbers) หมายถึง ความสามารถในการบวก ลบ คูณ หาร ตัวเลขที่แสดงคาปริมาณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งไดจากการสังเกต การวัดหรือการทดลอง
 4. ทักษะการจําแนกประเภท (Classification) หมายถึง ความสามารถในการจัดจําแนกหรือเรียงลําดับวัตถุหรือสิ่งที่อยูในปรากฏตางๆ ออกเปนหมวดหมูโดยมีเกณฑที่ใช้ใน การพิจารณา 3 ประการ คือ ความเหมือน ความแตกตาง และความสัมพันธ
 5. ทักษะความสัมพันธระหวางมิติของวัตถุกับเวลา (Space / Space Relation -ship and space / time relationship) หมายถึง ความสามารถในระบุความสัมพันธระหวางสิ่งตอไปนี้ ความสัมพันธระหวาง 2 มิติกับ 3 มิติ สิ่งที่อยูหนากระจกเงากับภาพในกระจกเปนซายขวาของกันและกันอยางไร ตําแหนงที่อยูของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงตําแหนงที่อยูของวัตถุกับเวลาหรือมิติของวัตถุเปลี่ยนแปลงไปกับเวลา
 6. ทักษะการจัดกระทําและสื่อความหมายขอมูล (Organization data andcommunication) หมายถึงความสามารถในการนําขอมูลที่ไดจากการสังเกต การวัด การทดลองและจากแหลงอื่นๆ มาจัดใหม โดยวิธีการตางๆ เชน การจัดเรียงลําดับ การจัดแยกประเภทเพื่อใหผูอื่นเขาใจความหมายของขอมูลชุดนั้นๆ ดีขึ้น โดยการนําเสนอในรูปตาราง แผนภูมิ
แผนภาพ กราฟ
 7. ทักษะการลงความเห็นจากขอมูล (Inferring) หมายถึง ความสามารถในการนําเสนอ อธิบายขอมูลที่มีอยูซึ่งไดมาจากการสังเกต การวัด การทดลอง โดยเชื่อมโยงกับความรูเดิมหรือประสบการณ์เดิม เพื่อสรุปความเห็นเกี่ยวกับขอมูลนั้นๆ
 8. ทักษะการพยากรณ (Prediction) หมายถึง ความสามารถทํานายหรือคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นลวงหนา


วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

30 กันยายน 2556
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED 3027 เวลา 14.10-17.30.

วันนี้อาจารย์ให้เคลียร์งานที่ค้างให้เรียบร้อย และให้ส่งงานสื่อเข้ามุม
สื่อ อ่างตกปลาหรรษา

อุปกรณ์
 กล่องกระดาษ
 กรรไกร
 กาว
 กาว 2 หน้า
 กระดาษสี
 กระดาษร้อยปอนด์
 แม่เหล็ก
 ตะเกียบ , โฟม , เชือก , ฝาน้ำ
 สี
 ดินสอ/ยางลบ/กระดาษ

 ขั้นตอนการทำ
1.                   ตัดกล่องกระดาษเฉียงลงมาพอประมาณ
2.                 นำกระดาษสีมาแปะตามที่วางแผนกันไว้
3.                 วาดรูปใส่กระดาษร้อยปอนด์ พร้อมตกแต่งระบายสี
4.                 ตัดรูปที่ระบายสีแล้วตามแบบและติดแม่เหล็กตรงมุมด้านบนทุกตัว   พร้อมตกแต่งภายในกล่อง
5.                 มาเชือกมาผูกกับไม้ตะเกียบและนำเชือกร้อยฝาขวดและติดแม่เหล็กทำเป็นเบ็ดตกปลาพร้อมตกแต่งให้สวยงาม

  ความรู้เพิ่มเติม

แม่เหล็ก (magnet) หมายถึง วัตถุที่สามารถดึงดูดกับสารแม่เหล็กได้ เช่น เหล็ก นิกเกิล โคบอลต์
เส้นแรงแม่เหล็ก (line of magnetic force) เป็นเส้นที่นักวิทยาศาสตร์กำหนดขึ้น โดยใช้ลูกศรแสดงทิศทางของเส้นแรงแม่เหล็กที่พุ่งออกจากขั้วเหนือเข้าสู่ขั้วใต้ โดยเส้นแรงแม่เหล็กไม่ตัดกัน
สนามแม่เหล็ก (magnetic field) หมายถึง บริเวณที่แม่เหล็กสามารถส่งแรงดึงดูดไปถึง
สมบัติของแม่เหล็ก 
แม่เหล็กมีสมบัติ ดังนี้
            1. แม่เหล็กสามารถดึงดูดโลหะบางชนิดได้
            2. แม่เหล็กมี 2 ขั้ว คือ ขั้วเหนือ และขั้วใต้
            3. เมื่อแขวนแท่งแม่เหล็กทิ้งลงในแนวดิ่งแล้วหมุนอย่างอิสระในแนวราบ หลังจากหยุดนิ่ง แท่งแม่เหล็กจะวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้
            4. ขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะออกแรงผลักกัน แต่ถ้าขั้ว ต่างชนิดกันจะดึงดูดซึ่งกันและกัน

ประโยชน์ของแม่เหล็ก 
            1. ใช้ประโยชน์ในการแยกเหล็กออกจากวัตถุอื่นๆ
            2. ใช้งมวัสดุที่เป็นเหล็กในน้ำ
            3. ใช้ทำเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า
            จะเห็นว่าภายในโลกประกอบด้วยสิ่งต่างๆ มากมาย ทั้งที่สัมผัสได้โดยตรง เช่น ดิน หิน แร่ และไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรง เช่น สนามแม่เหล็ก สิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างมาก โดยเฉพาะเปลือกโลกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา


สื่อ เข้ามุม อ่างตกปลาหรรษา




เพื่อนๆช่วยกันทำงาน




23 กันยายน 2556
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED 3027 เวลา 14.10-17.30.


จากคาบที่แล้วนักศึกษาได้ลงความคิดเห็นกันว่า จะทำเมนูข้าวผัด และให้เพื่อนๆนำกระทะมากลุ่มละ1 เตา ส่วนเครื่องปรุงเดี่ยวกลุ่มดิฉันนำมาให้


วันนี้ขอนำเสนอ ข้าวผัด



แผนการสอน การทำข้าวผัด


สมาชิกในกลุ่ม



วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

16 กันยายน 2556
วิชาการจัดการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED 3207 เวลา 14.10-17.30 .

วันนี้อาจารย์ ตฤณ   แจ่มถิน  สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ การทำอาหารดังนี

 1.อาจารย์ให้จักลุ่มคิดเมนูอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยกลุ่มละ 1 เมนู
 2.เขียนแม็ปการทำข้าวผัด           
 3 .เริ่มเขียนขั้นตอนการทำข้าวผัด

 4.เขียนแผนการสอนทำข้าวผัด
อาจารย์แนะนำการเขียนแผนการทำข้าวผัด





เพื่อนๆแต่ละกลุ่มมีเมนูอาหารดังนี้

1.กลุ่มแนน ทำต้มจืด
2.กลุ่มจ๋า   ทำแซนวิชไข่ดาว
3.กลุ่มหยก  ทำวุ้นมะพร้าว
4.กลุ่มอีฟ  ทำไข่ตุ่น
    
      เมื่อเพื่อนๆแต่ละกลุ่มคิดเมนูเสร็จอาจารย์ก็ให้ร่วมกันโหวตว่าจะจัดทำอาหารเมนูไหนดีผลปรากฎว่ากลุ่มของดิฉันได้รับผลโหวตเป็นอันดับแรก   อาจารย์จึงสรุปให้ทำข้าวผัด


9 กันยายน 2556
วิชาการจัดการวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED 3207 เวลา 14.10-17.30 .

ไม่มีการเรียนการสอนอาจารย์ติดงานราชการ

ดิฉันได้หาการทดลองที่น่าสนใจสำหรับเด็กปฐมวัยมานำเสนอ เรื่อง ไข่ลอย ไข่จม
วัสดุอุปกรณ์

1. เกลือ
2. ไข่ไก่สด
3. บีกเกอร์ขนาด 500 cm3
4. น้ำประปา
5. ช้อนตักสาร
6. แท่งแก้วคนสาร

วิธีทดลอง

1.เทน้ำประปาใส่ลงในบีกเกอร์ประมาณครึ่งบีกเกอร์ นำไข่ไก่สดใส่ลงไปในน้ำ (วางเบาๆ) และสังเกตผลจากนั้นนำไข่ไก่ออก
2.ใส่เกลือลงไปในบีกเกอร์เดิมประมาณ 5 ช้อน ใช้แท่งแก้วคนจนเกลือละลายหมด นำไข่ไก่ใบเดิมใส่ลงไป และสังเกตผล

ผลการทดลอง

จะพบว่า เมื่อนำไข่ไก่สดใส่ลงในน้ำประปาธรรมดา น้ำหนักของไข่ไก่จะดึงไข่ไก่ให้จมลงสู่ก้นบีกเกอร์ เนื่องจากความหนาแน่นของไข่ไก่มากกว่าความหนาแน่นของน้ำ น้ำจึงไม่สามารถพยุงไข่ไก่ให้ลอยขึ้นได้ แต่เมื่อใส่เกลือลงในน้ำประปาจำนวน 5 ช้อน ไข่ไก่สดใบเดิมจะลอยสูงจากก้นบีกเกอร์ ประมาณ 8 cm จากระดับน้ำสูง 10 cm เนื่องจากน้ำเกลือมีความเข้มข้นมากกว่า หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำประปาธรรมดา ไข่ไก่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำเกลือจึงสามารถลอยขึ้นได้
หากนำผลการทดลองและความรู้จากการทดลองนี้ มาใช้ในชีวิตประจำวัน เราอาจกล่าวได้ว่า การหัดว่ายน้ำในทะเล น่าจะสามารถพยุงตัวได้ดีกว่าว่ายน้ำในแม่น้ำ เนื่องจากน้ำทะเลมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำในแม่น้ำ



2 กันยายน 2556
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED 3207 เวลา 14.10-17.30 .

อาจารย์ติดประชุม แต่ดิฉันได้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
หมายถึงคุณลักษณะ ที่มีความจำเป็นต้องมีในตัวของผู้ที่จะต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา หรือปฏิบัติงานต่าง ๆ

ทักษะการสังเกต
                ทักษะการสังเกต คือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินอย่างไร ได้กลิ่นอย่างไร หรือรสชาติเป็นอย่างไร ก็ตอบไปตามนั้น ประสาทสัมผัสมี 5 ชนิด คือ
1. ประสาทตา สังเกตได้โดยการดู เพื่อบอกรูปร่าง สัณฐาน ขนาด สี สถานะ
2. ประสาทหู สังเกตโดยการฟัง เพื่อบอกเสียงที่ได้ยินว่า เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ หรือเสียงดังอย่างไรตามที่ได้ยิน
3. ประสาทจมูก สังเกตโดยการดมกลิ่น เพื่อบอกว่ามีกลิ่นหรือไม่ หอม เหม็น ฉุน
4. ประสาทลิ้น สังเกตโดยการชิมรส เพื่อบอกว่ามีรสชาติว่า หวาน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยว ฝาด แต่ในการสังเกตโดยการชิมนี้ ต้องแน่ใจว่าสิ่งนั้นไม่มีอันตรายและสะอาดเพียงพอ
5. ประสาทผิวกาย สังเกตได้โดยการสัมผัส เพื่อบอก อุณหภูมิ ความหยาบ ความละเอียด ความเรียบ ความลื่น ความเปียกชื้น ความแห้งของสิ่งนั้นนอกจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ชนิดสังเกตโดยตรงแล้ว การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ได้ก็จัดว่าเป็นทักษะการสังเกตเช่นเดียวกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสี การเปลี่ยนแปลงรูปร่างสัณฐาน การเปลี่ยนแปลงขนาด การเปลี่ยนแปลงกลิ่น รส อุณหภูมิ ฯลฯ

ทักษะการวัด
                การวัดหมายถึงความสามารถในการเลือกและใช้เครื่องมือต่าง ๆ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง โดยมีหน่วยที่ใช้วัดกำกับ ตลอดจนสามารถอ่านค่าที่วัดได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง ในการวัดจะต้องพิจารณาว่า
1. จะวัดอะไร เช่น วัดความยาวเส้นรอบรูปของลูกบอล ชั่งน้ำหนักก้อนหิน วัดอุณหภูมิของน้ำ วัดระยะเวลาที่ใช้ในการต้มน้ำ วัดปริมาตรของของเหลวในขวด วัดขนาดของมุม วัดความชื้นของอากาศ วัดแรงกดดันของอากาศ วัดแรงดันของไฟฟ้า ฯลฯ
2. จะใช้เครื่องมืออะไรวัด เช่น ใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูปของลูกบอล ใช้ตาชั่งสปริงชั่งน้ำหนักของก้อนหิน
3. เหตุใดจึงใช้เครื่องมือนั้น เช่นทำไมจึงเลือกใช้เชือกและไม้บรรทัดวัดเส้นรอบรูปลูกบอล จะใช้เครื่องมืออื่นได้หรือไม
4. จะวัดอย่างไร เช่น เมื่อมีเชือกและไม้บรรทัดแล้วจะทำการวัดอย่างไร มีเทคนิคอย่างไร


26 สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.

อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าร่วมงานมุทิตา ผศ.กรรณิการ์ สุสม ที่คณะศึกกษาศาสตร์

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

19 สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED  3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอการทดลอง มีดังนี้


  1. กระดาษกับไม้บล็อก  ( ปัทมา ) 
  2.  ช็อกสลายตัว  (แอม )
  3.  ลูกโป่งในขวด ( ปรางวลี )
  4. ตะเกียบหรรษา ( ภัสราภรณ์ )
  5.  กระป๋องบุบ ( อ๊อฟ )

และการทดลองของดิฉัน คือ อากาศนั้นต้องการที่อยู่

การทดลอง: อากาศนั้นต้องการที่อยู่

อากาศที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ประกอบด้วยก๊าซหลายชนิดทั้งไนโตรเจน  คาร์บอนไดออกไซด์  และที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์และบรรดาสัตว์ต่าง ๆ คือ  ก๊าซออกซิเจน   และยังมีก๊าซอื่น ๆ อีกหลายชนิดที่กระจายตัวอยู่ในอากาศพื้นที่ส่วนใหญ่บนโลกล้วนแล้วแต่มีอากาศอยู่ทั้งสิ้น  ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีปริมาณอากาศมากหรือน้อยแตกต่างกันไป   เราสามารถพิสูจน์ได้ว่าอากาศนั้นอยู่รอบตัวเรา  และยังมีแรงดันมหาศาลอีกด้วย  กับการทดลอง ตอน  ?อากาศนั้นต้องการที่อยู่?

อุปกรณ์ 
1.  แก้วน้ำใส 1 ใบ
2.  กระดาษทิชชู่
3.  เทปใส
4.  อ่างน้ำบรรจุน้ำเกือบเต็ม


วิธีการทดลอง



   1.  ยึดกระดาษทิชชู่ให้ติดกับก้นแก้วด้านใน   ด้วยเทปใส


2.  คว่ำปากแก้วแล้วกดลงในน้ำตรง ๆ ให้  แก้วน้ำทั้งใบจมอยู่ใต้น้ำ   อย่าให้แก้ว เอียง  น้ำอาจเข้าไปในแก้วได้
3.   นับ 1 - 10 แล้วค่อย ๆ  ยกแก้วน้ำที่    คว่ำอยู่ขึ้นมาตรง

          จากผลการทดลองพบว่า  เมื่อคลี่กระดาษทิชชู่ที่อยู่ในแก้วน้ำออกมาดู  กระดาษไม่เปียกน้ำเลย นั่นเป็นเพราะว่า น้ำในอ่างเข้าไปในแก้วน้ำไม่ได้  เนื่องจากในแก้วมีอากาศอยู่เต็ม   และอากาศเหล่านี้จะมีความดันที่จะดันน้ำไม่ให้เข้าไปในแก้วได้ สามารถพิสูจน์ได้ว่าในแก้วมีอากาศอยู่จริง โดยใช้แก้วเปล่าอีกใบหนึ่งที่ไม่มีกระดาษทิชชู  ค่อย ๆ คว่ำแก้วลงในน้ำจนแก้วทั้งใบอยู่ใต้น้ำ แล้วลองเอียงแก้ว จะพบว่าบริเวณผิวน้ำจะมีฟองอากาศพุ่งขึ้นมา  ฟองอากาศนั้นก็คืออากาศที่เคยอยู่ในแก้วนั่นเอง หลังจากที่อากาศออกมาจากแก้วน้ำแล้ว น้ำในอ่างก็จะเข้าไปอยู่แทนที่ 
          หากทำการทดลองแล้วพบว่า  กระดาษเปียก  ให้ลองทำดูอีกครั้ง คราวนี้พยายามอย่าเอียงแก้วน้ำ  เพราะการเอียงแก้วน้ำจะทำให้น้ำสามารถไหลเข้าไปแทนที่อากาศในแก้วได้   แต่หากกดแก้วลงตรง ๆ  การทดลองต้องประสบความสำเร็จแน่นอน










12 สิงหาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED  3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.


        ประวัติวันแม่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ



ประวัติวันแม่

แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป

มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความ สำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ

ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

2. จัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ

3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่

4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่


การจัดงานวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย

งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ

สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่



สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย





5 สิงหาคม 2556

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

EAED  3207  เวลา  14.10 - 17.30 น.


            

    วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเพราะอยู่ในช่วงวันสอบกลางภาคของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556   

29 กรกฎาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED  3207  เวลา 14.10 - 17.30 น.

       อาจารย์ให้นักศึกษาไปเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ วันที่ 30 กรกฎาคม 2556 เป็นวันสอบกลางภาค และอาจารย์ก็ได้สั่งงาน ให้นักศึกษานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์ในครั้งต่อไป


28 กรกฎาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED 3207  เวลา 14.10 - 17.30 น.

 วันนี้อาจารย์ขอนัดสอนเพิ่มเติมและวันนี้อาจารย์ก็ให้นักศึกษานำเสนอวิธีการทำของเล่นของแต่ละคนซึ่งมีดังนี้ 
การนำเสนอและวิธีการทำของเล่นแต่ละคน
เตย                ทำเฮรีคอปเตอร์กระดาษ
เฟิร์น              ทำไก่กระต๊าก
ฝน                 ทำกังหันลมจิ๋ว
แอม               ทำโบว์ลิ่ง
อีฟ                 ทำใบพัดสามแฉก
ตาล               ทำลูกข่างกระดาษ
หลัน              ทำลูกข่างจากแผ่น CD
ริตา               ทำเรือพลังยาง
ปูนิ่ม              ทำคอปเตอร์จากไม้ไอติม
ฝน                ทำรถไถจากหลอดด้าย

           ซึ่งในวันนี้การนำเสนอของเล่น ของนักศึกษาแต่ละคนก็ได้ ข้อแนะนำเพื่อนำมาปรับใช้ได้ในวันข้างหน้า   และในครั้งต่อไปอาจารย์จะให้นักศึกษานำเสนอ การทดลองวิทยาศาสตร์ และของเล่นเข้ามุมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในครั้งต่อไปค่ะ




วันที่  22  กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  EAED3207 
เวลา 14.10 - 17.30  กลุ่มเรียน 102 


หยุดอาสาฬหบูชา
วันที่  15  กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
EAED3207 เวลา 14.10 - 17.30  กลุ่มเรียน 102 

อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอ สิ่งประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้  ดังนี้
หยก  :  นำเสนอเรื่อง เลี้ยงลูกบอลด้วยลม
ออย  :  นำเสนอเรื่อง กังหันลม
เฟิร์น :  นำเสนอเรื่อง ไก่กระต๊าก
อ๊อฟ  :  นำเสนอเรื่อง เครื่องบินแรงดันอากาศ 
แอม  :   นำเสนอเรื่อง ไปเป้เป่าลม
จู      :   นำเสนอเรื่อง ปืนขวดน้ำ
ริตา  :   นำเสนอเรื่อง  เรือพลังยาง
ปริม  :   นำเสนอเรื่อง  จานหมุนมีชีวิต
ปรางค์ :  นำเสนอเรื่อง  กล้องผสมสี
ไอซ์    :   นำเสนอเรื่อง ขวดผิวปาก
             อาจารย์ให้นักศึกษาที่ออกไปนำเสนอสิ่งประดิษฐ์หน้าชั้นเรียน เอาสิ่งที่นำเสนอไปลงในบล็อกของตนเอง โดยให้บอกวิธีการทำต่างๆอย่างละเอียดพร้อมรูปภาพประกอบ และคาบหน้าให้นักศึกษาประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ของตนเองมา 1 ชิ้น และเตรียมอุปกรณ์มา 1 ชุด เพื่อที่จะนำมาสาธิตวิธีการทำแก่เพื่อนที่จับคู่กัน
                                              
                        สิ่งประดิษฐ์ที่ดิฉันนำเสนอ คือ ตุ๊กตาไข่ล้มลุก
อุปกรณ์
-เปลือกไข่
-ดินน้ำมัน
-สีน้ำ
-พู่กัน

วิธีทำ
-นำเปลือกไข่มา (เปลือกไข่ที่เจาะรูไม่เล็กมาก ไม่ใหญ่มาก พอดีๆ เอาไข่ออกให้เหลือแต่เปลือก)
-เอาดินน้ำมัน ใส่ลงไป กดๆให้แน่นนิดนึง(อย่ากดแรงเกินไป เดี๋ยวเปลือกไข่จะแตก) ใส่ดินน้ำมันไม่ต้องเต็มในเปลือกไข่นะคะประมาณ 3/4 ของเปลือกไข่ทั้งหมด





วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

8 กรกฎาคม  2556
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED  3207 
เวลา 14.10 - 17.30 น.


                   อาจารย์ได้ให้ทำสิ่งประดิษฐ์จากกระดาษในเรื่องการวาดภาพลงบนกระดาษที่เป็นเรื่องราวหลายๆแผ่นพร้อมกับให้ลองเปิดกระดาษแบบเร็วๆเราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่วาดจะกลายเป็นเรื่องราวขึ้นมาและได้ให้ดู เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ   น้ำมีสถานะ 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ความมหัศจรรย์ของน้ำมีมากมาย และสิ่งนี้ก็จะทำให้วัตถุลอยตัวขึ้นมาได้ดีในน้ำเกลือ และในเรื่องของการทดลองเกี่ยวกับน้ำ มีดังนี้ ปรากฎการท่อรูเข็ม แรงตึงผิว แรงดันของน้ำ การตกปลาน้ำแข็ง การระเหยของน้ำ การเปลี่ยนของแข็งให้เป็นไอน้ำ และการเกิดฝน

1 กรกฎาคม 2556
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED 3207
เวลา 14.10 - 17.30 น.


         อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันสรุปงานจากสัปดาห์ที่แล้ว พร้อมทั้งนำเสนอเป็น mind mapping พร้อมกัน โดยให้นักศึกษาได้ร่วมพูดคุยและตอบคำถามกันในแต่ละหัวข้อดังนี้
1. ความหมายทางวิทยาศาสตร์
2. ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์
3. ทฤษฎีทางสติปัญญา
4. การเรียนรู้
5. แนวคิดทางวิทยาศาสตร์
6. กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์
7. วิธีการทางสมมติฐาน



และหลังจากนั้น อาจารย์ ก็ได้ให้ดู ความลับของแสง   วัตถุที่ทำให้เกิดแสง มีดังนี้

วัตถุโปร่งแสง   แสงสามารถจะทะลุผ่านไปได้บางส่วน เช่น กระจกฝ้า
วัตถุโปร่งใส     แสงสามารถผ่านไปได้ทั้งหมด เช่น กระจกใส พลาสติกใส
วัตถุทึบแสง     แสงสามารถผ่านไปไม่ได้ เช่น ไม้ เหล็ก หรือ ร่างกายของคน

ในเรื่องความลับของแสง ก็จะมี เรื่องของการ สะท้อนของแสง   การหักเหของแสง   เงากับแสง  คุณสมบัติของแสง แสงเดินทางเป็นเส้นตรง   เป็นต้น